ประเด็นร้อน

ห้าเรื่องที่บอร์ดควรรู้ (จบ)

โดย ACT โพสเมื่อ Mar 25,2019

- - ขอบคุณข้อมูลจาก โพสต์ทูเดย์ - -

 

คอลัมน์ คิดเป็นเห็นต่าง : โดย กุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

 

ต่อจากคอลัมน์ คิดเป็นเห็นต่าง ห้าเรื่องที่บอร์ดควรรู้ (1)

 

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD) ถือโอกาสใช้วัน แห่งความรัก 14 ก.พ. "แสดงความรัก" กับคณะวิทยากรของ IOD โดยได้จัดบรรยายเรื่อง "Picking the Right CEO : The Boardroom Challenge" โดย นิติพันธ์ พันธุ์วิโรจน์ Managing Director ของ DDI (Thailand) ซึ่งถือเป็นผู้รู้ตัวจริงในด้านนี้ถึงแม้ว่าเนื้อหาการบรรยายจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรักโดยตรง แต่การคัดเลือก CEO ก็เป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ของ Boardroom ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร และผลประกอบการที่แย่ลงคราวที่แล้วนำเสนอไป 2 ข้อ คือ ข้อ 1 ทิศทางขององค์กร กับข้อ 2 ทำไมต้องสรรหา CEO ใหม่

 

ต่อด้วยข้อที่ 3 Consumer Engagement - ในโลกของการแข่งกันทำการตลาดใน Red Ocean การสร้างความแตกต่างถือเป็นเรื่องที่ยิ่งท้าทายมากขึ้นทุกวัน องค์กรระดับโลกต่างก็ใช้เทคโนโลยีในการอ่านใจผู้บริโภคเพื่อออกสินค้าที่ตอบโจทย์ ยกตัวอย่างเช่น Nike ใช้เทคโนโลยีที่ฝังอยู่ในรองเท้าสามารถอ่านสรีระฝ่าเท้าของผู้ใส่ได้ หรือหากจะลองคิดเล่นๆ อีกไม่นาน รองเท้ากีฬาก็อาจจะฉลาดพอที่จะวัดพัฒนาการของนักกีฬา เช่น ความเร็วในการเคลื่อนไหว หรือความสูงในการกระโดดก็ได้ ข้อมูลของ ผู้บริโภคกำลังกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถมัดใจผู้บริโภคได้

 

ทั้งนี้ "จุดยืน" ขององค์กรจะเกิดขึ้นได้จากการที่บอร์ดและฝ่ายบริหารร่วมกันสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับ Purpose ที่มี Identity และนำไปใช้เป็นไฟส่องทางในการทำธุรกิจและการมัดใจผู้บริโภค ซึ่งจะนำมาซึ่งความยั่งยืนในฝั่งของรายได้ คำถามที่บอร์ดอาจจะลองใช้เพื่อสะท้อนความเข้าใจในเรื่องนี้ของฝ่ายบริหาร ได้แก่

 

a.ฝ่ายบริหารมีการทบทวนความสอดคล้องของ Purpose, Vision, Mission, Brand ในระดับของพฤติกรรมและแผนกลยุทธ์ธุรกิจครั้งล่าสุดเมื่อไหร่

b.ฝ่ายบริหารมีระบบการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและเข้าใจ ถึงความต้องการและ Pain-Point ของผู้บริโภคหรือไม่

c.จะเกิดอะไรขึ้นในอีกหนึ่งปีข้างหน้า หากองค์กรไม่ลงทุนพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค

d.เราจะสามารถ Co-create จนนำไปสู่ Advocacy ของลูกค้าได้อย่างไรข้อที่ 4 ESG-ในปัจจุบันเรื่องของการสร้างความยั่งยืนในมุมของสิ่ง แวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลยังคงถูกมองเป็น "กิจกรรม" และ "พิธีกรรม" มากกว่า "กลยุทธ์" ในขณะที่นักลงทุนสถาบันต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่อาจตอบโจทย์สังคมรอบด้านอย่างแท้จริง จึงดูเหมือนจะเป็นการสร้างภาระให้แก่ฝ่ายบริหาร

 

อย่างไรก็ตาม การสร้างกำไรและการเติบโตไปพร้อมกับสังคมรอบด้าน ถือเป็นโจทย์ที่บอร์ดต้องให้ความสำคัญและมองเป็นโอกาสในการ "ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ" ผูกใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ บอร์ดควรเริ่มพิจารณาซักถามฝ่ายบริหารถึงความเสี่ยงหลักๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ในขณะที่ประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG ก็จะต้องถูกประเมินจากการวิเคราะห์กระบวนการทำธุรกิจทั้งหมด เพื่อให้เข้าใจถึง ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  โดยบอร์ดอาจเลือกใช้คำถามต่อไปนี้

 

a.องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายในด้าน ESG อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่และมีระบบควบคุมอย่างไร

b.องค์กรมีการหาข้อมูลเพื่อเข้าใจความเสี่ยง ESG หรือไม่ตั้งแต่กระบวนการผลิต ขนส่ง การตลาด และการบริโภค

c.ประเด็นความเสี่ยง ESG และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์องค์กรหรือไม่ อย่างไร

d.เราได้มีส่วนในการสร้างความคาดหวังด้าน ESG ให้กับผู้มีส่วน ได้เสียกลุ่มต่างๆ อย่างไร

 

5.Crisis Management - ลองจินตนาการว่าประธานบอร์ดถูกปลุกกลางดึกโดยเสียงโทรศัพท์จากนักข่าว แจ้งถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ โดยที่บอร์ดยังไม่ทราบเรื่องอย่างเช่น ข้อมูลความลับของลูกค้าถูกเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ เรากำลังอยู่ในโลกที่ "Crisis is the New Normal" ที่เรื่องลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

การวางแผนเตรียมความพร้อมของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นความรับผิดรับชอบที่ต้องเริ่มที่บอร์ด ซึ่งคำถามที่บอร์ดควรร่วมหารือและขอคำตอบจากฝ่ายบริหารก็คือ Crisis ครั้งหน้าที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรอาจจะมีรูปแบบอย่างไรจากนั้นบอร์ดก็ควรกำหนดให้ฝ่ายบริหารหาวิธีการในการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ โดยบอร์ดอาจจะถามไปถึงเรื่องระบบการบริหารจัดการอย่างเช่น

 

a.องค์กรมีระบบจัดการเพื่อพยากรณ์การเกิด Crisis และการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร

b.องค์กรมีระบบในการสอดส่องสัญญาณเสี่ยงและแจ้งเตือนบอร์ด และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร ก่อนที่เรื่องจะลุกลามกลายเป็น Crisis

c.บอร์ดและฝ่ายบริหารได้รับการฝึกอบรม เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

 

ความยั่งยืนขององค์กรต้องเริ่มที่ Boardroom และบอร์ดจำเป็นต้องรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเองในการกำกับให้องค์กรสร้างและนำกลยุทธ์ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ "ปีหมู" นี้อาจจะไม่หมูสำหรับองค์กรที่ไม่ได้มีการกำกับดูแลให้พร้อมรับกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ทุกความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็มีโอกาสซ่อนอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผมจึงอยากเชิญชวนให้บอร์ดทุกท่านมอบหมายให้ฝ่ายบริหารคิดในแง่การแปลงกระแสโลกให้เป็นโอกาสทางธุรกิจด้วย ซึ่งอาจจะกลายเป็นจุดพลิกเกมสำคัญที่ทำให้องค์กรของท่านสามารถเติบโตไปในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

 

 

#ร่วมเป็นคนไทยตื่นรู้สู้โกง

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw